งาน วิจัยระดับมหาวิทยาลัยพบว่า หากคุณสามารถเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี จะช่วยให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นทั้งนี้ งานวิจัยต่อเนื่องเป็นเวลา 20 ปีพบว่า ผู้ที่มีปัญหาเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ มีโอกาสที่จะเสียชีวิตเร็วมากกว่าผู้ที่เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี 2.4 เท่า
ผลวิจัยดังกล่าวเก็บข้อมูลสุขภาพของคนวัยทำงาน 25-65 ปี
ซึ่งทำงานโดยเฉลี่ยวันละ 8 ชม. โดยอาสาสมัครทั้งหมดจะคัดกรองข้อมูลทุกอย่าง
ตั้งแต่สุขภาพจิต นิสัยประจำตัว ปัจจัยความเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น
การสูบบุหรี่ โรคอ้วน ไปจนถึงอาการจิตตก
รวมทั้งยังเก็บตัวอย่างคละกันจากหลายอาชีพ ทั้งด้านไฟแนนซ์และสุขภาพ
ไปจนถึงแรงงานอุตสาหกรรม
อาสาสมัครจะถูกสอบถามถึงความสัมพันธ์กันในที่ทำงาน ตั้งแต่เจ้านายไปจนถึงเพื่อนร่วมงาน ว่ามีความสนิทสนมหรือมีความสัมพันธ์ดีแค่ไหน
อาสาสมัครส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตในระหว่างการวิจัย
มักมีความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ หรือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
งานวิจัยพบว่า การขาดมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในอีก 20ปีข้างหน้าถึง
140%เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน
ดร.ชารอน โตเกอร์ จากภาควิชาพฤติกรรมองค์กร คณะบริหารธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟกล่าว
ว่า "คนวัยทำงานส่วนใหญ่ใช้ชีวิตทั้งวันในที่ทำงาน
และไม่สามารถพบปะเพื่อนฝูงได้ตลอดทั้งสัปดาห์
ดังนั้นสถานที่ทำงานควรเป็นสถานที่ที่สามารถให้การพึ่งพิงทางจิตใจได้"
เธอชี้ว่า งานวิจัยพบว่า
ความมั่นคงทางจิตใจเป็นตัวชี้วัดสุขภาพในอนาคตแม้ว่าการช่วยเหลือและสนับ
สนุนทางด้านจิตใจกันระหว่างเพื่อนร่วมงานจะเป็นเรื่องปกติ ดร.โตเกอร์ย้ำว่า
สถานที่ทำงานหลายแห่งล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
เธอกล่าวว่า
แม้จะออกแบบสำนักงานให้เป็นสำนักงานเปิดสามารถคุยกันได้ทั้งห้อง
แต่ผู้คนส่วนใหญ่กลับชอบพูดคุยกันผ่านอีเมล์หรือโซเชียลเน็ตเวิร์กแทน
เธอกล่าวว่า แม้สิ่งเหล่านี้จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อ
แต่กลับตัดโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมที่จำเป็นต่อมนุษย์
เธอแนะนำว่า หากอยากให้ออฟฟิศมีบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดการพูดคุยกัน
ควรจัดให้มีมุมกาแฟพร้อมเก้าอี้
ที่เมื่อถึงเวลาพักพนักงานสามารถนั่งลงแล้วสนทนากันได้อย่างเป็นกันเอง
ซึ่งเป็นการจัดบรรยากาศให้เหมือนกับการใช้บริการเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กเช่น
เฟซบุ๊ก
เธอแนะอีกว่า การจัดโครงการหรืองานที่ช่วยให้พนักงานสามารถเปิดอกคุยกัน
ทั้งปัญหาส่วนตัวและปัญหาในที่ทำงาน ก็เป็นตัวช่วยหนึ่งที่ดีเช่นกัน
รู้แบบนี้แล้ว ... หันไปยิ้มให้เพื่อนร่วมงานที่น่ารักของคุณเลยดีมั้ยครับ
สุดท้ายนี้ ผมเจอบทความนี้จาก http://km.mgt.psu.ac.th
ซึ่งได้อ้างอิงข้อมูล ดีๆมาจาก หนังสือพิมพ์ ไทยโพสนะครับ
ขอให้ทุกท่าน ทำงานอย่างมีความสุขครับผม
รู้แบบนี้แล้ว ... หันไปยิ้มให้เพื่อนร่วมงานที่น่ารักของคุณเลยดีมั้ยครับ
สุดท้ายนี้ ผมเจอบทความนี้จาก http://km.mgt.psu.ac.th
ซึ่งได้อ้างอิงข้อมูล ดีๆมาจาก หนังสือพิมพ์ ไทยโพสนะครับ
ขอให้ทุกท่าน ทำงานอย่างมีความสุขครับผม
แสดงความคิดเห็น